โหราเอก

ยินดีต้อนรับ กัลยาณมิตรทุกท่าน

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประเพณีลากพระ(ชักพระ) จังหวัดตรัง

ช่วงวันที่ 5 - 13 ตุลาคม นี้ ได้มาเที่ยวที่จังหวัดตรัง ได้มาเห็นประเพณีลากพระหรือที่เขาเรียกว่า ชักพระสำหรับผมผู้เป็นพุทธศาสนิกชนที่มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ก็ตื่นตาตื่นใจไม่น้อย ไว้ว่างๆเดี๋ยวจะเก็บรูปมาฝาก แต่คราวนี้เราเอาประวัติและสาระความเป็นมาของประเพณีดังกล่าวมาฝากกันก่อนดีกว่า

งานประเพณี "ลากพระ งานชักพระ หรืองานแห่พระ" เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคใต้ ที่พุทธศาสนิกชนอนุรักษ์และสืบทอดมายาวนานแล้ว โดยเฉพาะจังหวัดตรังนั้น ในปีหนึ่งๆ จะจัดขึ้นถึง 2 ครั้งด้วยกัน โดยครั้งแรกจะจัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งจะเป็นการลากพระบก นิยมจัดกันตามชุมชนตรังนา หรือบริเวณท้องทุ่งกว้างๆ ใกล้วัด เช่น วัดพระงาม วัดควนขัน และวัดทุ่งหินผุด ในเขตอำเภอเมืองตรังทั้งนี้ จะมีการตกแต่งเรือพระให้สวยงามเพื่อประกวดกัน แล้วชักลากจากหมู่บ้านหรือวัด ที่เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน แล้วมาชุมนุมกันในท้องทุ่งในช่วงสาย หลังจากนั้นก็จะเข้าไปในวัดทำบุญกัน ส่วนช่วงบ่าย ชาวบ้านจะเล่นจับคู่วัดเพื่อแย่งพระกัน โดยวัดที่ชนะก็จะได้พระไป เมื่อถึงปีถัดไปก็จะจัดเรือพระนำมาชุมนุม และแย่งพระกันใหม่การชักพระเดือน 5 หรือลากพระบกในปัจจุบัน ที่ยังคงมีปฏิบัติสืบทอดกันอยู่ในทุกๆ ปี คือ ชุมชนวัดควนขัน แต่ไม่มีวัดอื่นๆ มาเข้าร่วมแย่งพระกันเหมือนสมัยก่อน มีเพียงการตกแต่งเรือพระให้สวยงาม แล้วชาวบ้านพร้อมใจกันชักลากเรือพระเข้าวัดอย่างสนุกสนานเท่านั้น สำหรับประเพณีลากพระครั้งที่ 2 ของจังหวัดตรัง จะจัดขึ้นหลังวันออกพรรษา 1 วัน หรือหลังวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งมีการเล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนานว่า เนื่องจากวันนี้ จะเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จกลับสู่มนุษย์โลกทางบันไดทิพย์ ดังนั้น พุทธศาสนิกชนจึงนำเอาพระพุทธรูปมาแห่แหนสมมติแทนพระพุทธองค์ จนสืบทอดมาเป็นประเพณีลากพระในท้องถิ่นทางภาคใต้สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับการลากพระ และไปเสียไม่ได้ก็คือ การทำต้ม หรือการนำข้าวเหนียวที่ผัดด้วยกะทิมาห่อด้วยใบพ้อ ซึ่งเป็นใบไม้ที่มีเฉพาะทางภาคใต้ จากนั้นจะทำเป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วนึ่งให้สุก เพื่อเอามาใส่บาตร นำมาผูกรวมเป็นพวง พวงละ 3-5 ลูก เพื่อเอามาไว้ใส่บาตร ใช้ประดับเรือพระ หรือเป็นอาหารระหว่างการละเล่นในประเพณีลากพระ จนเป็นที่มาของคำโบราณที่พูดติดปากว่า "เข้าหน้าตอก ออกหน้าต้ม" ซึ่งมีความหมายคือ ในเวลาเข้าพรรษาชาวพุทธจะถวายตอก ส่วนในเวลาออกพรรษา ชาวพุทธจะถวายต้ม ทั้งนี้ จะมีการอาราธณาพระพุทธรูป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ หรือปางอุ้มบาตร ขึ้นมาประดิษฐานบนบุษบก หรือเรือพระ ที่แต่ละวัดก็จะหาช่างฝีมือที่มีความชำนาญ ช่วยกันตกแต่งให้สวยงาม เพื่อนำเข้าร่วมประกวดแข่งขัน นอกจากนั้น พุทธบริษัทในละแวกวัดที่จะช่วยกันทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ โดยบางวัดอาจใช้เวลาตกแต่งนานเป็นแรมเดือน และใช้งบประมาณนับหมื่นนับแสนบาทเลยทีเดียวปัจจุบันได้มีการดัดแปลงจากเรือ มาเป็นรถ หรือล้อเลื่อน เพื่อความสะดวกในการชักลากมาตามถนนหนทาง แล้วนิมนต์พระภิกษุในวัดนั้นๆ ขึ้นนั่งประจำเรือพระ จากนั้นก็จะมีการลากพระเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ชาวพุทธได้ออกมาร่วมกันทำบุญและถวายต้ม โดยจะมีพุทธศาสนิกชนและศิษย์วัดเดินตามมาด้วย พร้อมกับบรรเลงเครื่องดนตรีประโคมไปตลอดทาง มีทั้งทับโพน กลอง ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง และฉาบปี 2549 นี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ตรัง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตรัง และสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองตรัง ได้มีให้การจัดงานประเพณีลากพระ และมหกรรมวัฒนธรรมสัมพันธ์ ครั้งที่ 6 ขึ้น ในช่วงระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคใต้ทั้งนี้ นอกจากจะมีการประกวดแข่งขันเรือพระแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย รวมทั้งการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ที่สำคัญก็คือ การประกวดทางวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น การเล่านิทานพื้นบ้าน การแต่งโคลง กลอน การร้องเพลงกล่อมเด็ก การขับบทหนังตะลุง และการแสดงบนเวทีของนักเรียนโรงเรียนต่างๆนอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว ได้เดินทางมาเที่ยวชมเรือพระซึ่งเข้าร่วมการประกวด ที่มีจำนวน 40 ลำ ซึ่งได้นำมาจอดรวมกันที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดตรังหลังเก่า โดยจะมีการตกแต่งประดับประดาด้วยแสง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น